บทที่ 2

การบันทึกเป็นภาพนิ่งใช้งาน

         เนื่องจากไฟล์ .fla เป็นไฟล์ต้นฉบับ ไม่สามารถนำไปใช้งานได้ ก่อนนำไฟล์ภาพที่สร้าง
ด้วย Flash ไปใช้งาน จำเป็นต้องบันทึกในฟอร์แมตที่เหมาะสม สำหรับภาพนิ่ง ให้เลือกคำสั่ง File,
Export, Export Image…
         ฟอร์แมตของภาพนิ่ง ก็เป็นรายการที่ควรนำมาพิจารณาประกอบ เช่น ถ้าต้องการเป็น
ภาพประกอบสื่อสิ่งพิมพ์ แนะนำให้เลือกเป็น .bmp หรือ .ai แต่ถ้าต้องการใช้บนเว็บไซต์ ก็ควร
เลือกเป็น .gif, .jpg หรือ .png โดยมีหลักในการพิจารณา ดังนี้
         • ภาพโครงร่าง หรือภาพที่มีการใช้สีแบบ Solid ให้เลือกเป็น GIF Format
         • ภาพที่มีการใช้สีแบบไล่โทน หรือมีการใช้สีจำนวนมาก ให้เลือกเป็น JPEG Format
การบันทึกในฟอร์แมต GIF
         การบันทึกภาพวาดในฟอร์แมต GIF ทำได้โดยเลือกคำสั่ง File, Export, Export Image…
เลือกรายการ Save as Type เป็น GIF Image (*.GIF)
รายการเลือกของ GIF Format ได้แก่
• Dimension กำหนดขนาดของภาพ
• Resolution กำหนดความละเอียด มีค่าเท่ากับ 72 dpi
• Include เลือกรูปแบบการบันทึกพื้นที่รอบภาพ กรณีที่ต้องการบันทึกเฉพาะพื้นที่
  ที่มีภาพเท่านั้น ให้เลือกเป็น Minimum Image Area โปรแกรมจะไม่นำพื้นที่รอบภาพ
  มาบันทึกด้วย แต่ถ้าเลือกเป็นรายการ Full Document Size จะเป็นการบันทึกเท่ากับ
  ขนาดที่ระบุจริงในรายการ Dimension
• Colors เลือกจำนวนค่าสีที่เหมาะสมกับภาพ ดังนั้นหากบางภาพมีการใช้สีน้อย ก็
  สามารถระบุจำนวนสีที่เหมาะสมได้
• Interlace เลือกเมื่อภาพที่วาดมีขนาดโตกว่า 200 pixel เพื่อกำหนดให้ภาพแสดงผล
  แบบโครงร่างก่อน แล้วค่อยๆ ชัดขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
• Transparent เลือกเพื่อกำหนดให้ภาพมีลักษณะของพื้นแบบโปร่งใส
• Smooth เลือกให้ภาพมีลักษณะขอบกระด้าง หรือขอบมน
• Dither solid colors เลือกลักษณะการเกลี่ยสีที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน


การบันทึกในฟอร์แมต JPEG

         การบันทึกภาพวาดในฟอร์แมต JPEG ทำได้โดยเลือกคำสั่ง File, Export, Export Image…
เมื่อเลือกไดร์ฟ/โฟลเดอร์ และตั้งชื่อไฟล์ภาพ ให้เลือกรายการ Save as Type เป็น JPEG Image
(*.jpg) แล้วคลิกปุ่ม Save จะปรากฏรายการเลือกค่าควบคุม ดังนี้
• Dimension กำหนดขนาดของภาพ
• Resolution กำหนดความละเอียด มีค่าเท่ากับ 72 dpi
• Include เลือกรูปแบบการบันทึกพื้นที่รอบภาพ กรณีที่ต้องการบันทึกเฉพาะพื้นที่
  ที่มีภาพเท่านั้น ให้เลือกเป็น Minimum Image Area โปรแกรมจะไม่นำพื้นที่รอบภาพ
  มาบันทึกด้วย แต่ถ้าเลือกเป็นรายการ Full Document Size จะเป็นการบันทึกเท่ากับ
  ขนาดที่ระบุจริงในรายการ Dimension
• Quality คุณภาพของภาพ กรณีที่นำไปใช้กับเอกสารเว็บ ควรกำหนดไว้ที่ 60 – 90
  แต่ถ้าต้องการบันทึกเป็นภาพต้นฉบับเพื่อไปตกแต่งด้วยโปรแกรมอื่นต่อไป ควร กำหนดเป็น 100
• Progressive เลือกเมื่อภาพที่วาดมีขนาดโตกว่า 200 pixel เพื่อกำหนดให้ภาพแสดงผล
  แบบโครงร่างก่อน แล้วค่อยๆ ชัดขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป คล้ายๆ กับคุณสมบัติ Interlace ของ GIF
การบันทึกเป็นภาพเคลื่อนไหว
         การบันทึกผลงานของ Flash เป็นภาพเคลื่อนไหว หรือ Flash Movie สามารถเลือกได้สอง
คำสั่ง คือ File, Export, Export Movie… โดยมีหน้าต่างการบันทึก และการเลือกฟอร์แมตคล้ายกับ
การบันทึกภาพนิ่งที่แนะนำไปก่อน นอกจากนี้ยังสามารถเลือกได้จากคำสั่ง File, Publish
Settings… ซึ่งเป็นคำสั่งที่นิยมเลือกใช้มากกว่า กรณีที่เป็นภาพเคลื่อนไหว โดยจะปรากฏหน้าต่าง
ทำงาน ดังนี้
เลือกฟอร์แมตที่ต้องการใช้งาน
• ใช้งานในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ให้คลิกเลือกรายการ Flash และ HTML
• สร้าง Movie ในฟอร์แมต QuickTime ให้เลือกรายการ QuickTime ซึ่งจะได้ไฟล์
  Movie ที่มีส่วนขยายเป็น .mov
• สร้าง Movie ที่สามารถนำเสนอได้ทันที โดยไม่ต้องอาศัย Plug-Ins ใดๆ ให้เลือก
  รายการ Windows Projector ซึ่งจะได้ไฟล์ที่มีส่วนขยาย .exe หรือเลือกรายการ
  Macintosh Projector สำหรับการนำเสนอบนเครื่องคอมพิวเตอร์ Macintosh
         เมื่อเลือกรูปแบบไฟล์ที่ต้องการแล้ว ให้คลิกปุ่ม Publish โปรแกรมจะแปลงงานบน Stage
เป็น Movie ตามฟอร์แมตที่เลือก โดยใช้ชื่อไฟล์เดียวกับไฟล์ Flash ต้นฉบับ


ทำงานกับ Stage

         Stage เป็นชื่อเรียกพื้นที่สร้างภาพกราฟิกของ Flash นับเป็นพื้นที่สำคัญในการสร้างสรรค์
งานกราฟิก หรือสร้าง Movie มีลักษณะเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมสีขาวล้อมด้วยกรอบสีเทา ภาพกราฟิก
หรือวัตถุใดๆ สามารถวางได้บนพื้นที่สีขาว และสีเทา แต่เมื่อสั่งนำเสนอผลงาน เฉพาะภาพกราฟิก
หรือวัตถุที่วางบนพื้นที่สีขาวเท่านั้น ที่จะแสดงผล
ขนาดของ Stage
         ขนาดของ Stage จะหมายถึงพื้นที่การแสดงผลของ Movie นั่นเอง ดังนั้นก่อนสร้างงานควร
กำหนดขนาดของ Stage ให้เหมาะสมและตรงกับการใช้งานจริง การกำหนดขนาดของ Stage กระทำได้โดย
         • เลือกคำสั่ง File, New… เพื่อเข้าสู่โหมดการสร้าง Movie
         • คลิกเลือกคำสั่ง Modify, Document…
• กำหนดค่าความกว้าง ความสูงของ Stage (หน่วยปกติจะเป็น pixel) จากรายการ Dimensions:
  o กรณีที่มีข้อมูลบน Stage สามารถคลิกปุ่ม Match: Printer หรือ Contents เพื่อให้
  Flash ปรับขนาดให้เหมาะสมกับข้อมูลโดยอัตโนมัติ
• เลือกสีพื้นของ Stage จากตัวเลือก Background color:
• รายการ Frame rate: เป็นหน่วยวัดการสร้างภาพเคลื่อนไหว หมายถึงในเวลา 1 วินาที
  จะต้องมีภาพกี่เฟรม จึงจะทำให้ภาพเคลื่อนไหวมีความสมจริง ถ้ากำหนดน้อยเกินไปก็
  จะทำให้มีอาการกระตุก และหากเร็วเกินไปก็จะทำให้สูญเสียรายละเอียด การนำเสนอ
  บนเว็บ ค่า 12 เฟรมต่อวินาที เป็นค่าที่เหมาะสมที่สุด แต่การสร้างภาพยนตร์เช่น
  QuickTime หรือ AVI จะต้องกำหนดไว้ที่ 24 เฟรมต่อวินาที
• Ruler units: หน่วยวัดของไม้บรรทัด และหน่วยวัดการสร้างวัตถุต่างๆ แนะนำให้ใช้
  หน่วยเป็น pixels
         การกำหนดขนาดและคุณสมบัติอื่นๆ ของ Stage ยังสามารถเลือกได้จาก Properties Panel
โดยต้องอยู่ในโหมดการใช้เครื่องมือ Selection
คลิกเพื่อดูภาพขยาย
ข้อแนะนำการกำหนดขนาดของ Stage
         วัตถุประสงค์หลักของการพัฒนา Flash Movie ก็คือการนำไปใช้เป็นองค์ประกอบของ
เว็บไซต์ ในปัจจุบันหน้าเว็บไซต์ที่ถือว่าเป็นมาตรฐานจะมีขนาดที่เหมาะสมกับการแสดงบนจอภาพ
ขนาด 1024 x 768 pixels
ดังนั้นขนาดของ Stage ควรกำหนดให้มีความกว้าง ความสูงสัมพันธ์กับเลย์เอาท์ของหน้าเว็บ


Ruler, Grid, Guides

         Ruler, Grid, Guides เครื่องมือช่วยกำหนดขอบเขต และวางตำแหน่งการสร้างกราฟิกบน
Stage โดย
• Ruler แถบไม้บรรทัดจะปรากฏที่ขอบด้านซ้าย และด้านบนของ Stage สามารถ
  เปิด/ปิดได้จากคำสั่ง View, Rulers
• Grid มีลักษณะเป็นตารางตาหมากรุก ที่แบ่งเป็นช่องเล็ก ช่วยในการกำหนด
  ตำแหน่งในการสร้าง ย่อ/ขยาย หรือเคลื่อนย้ายวัตถุบน Stage สามารถเปิด/ปิดได้จาก
  คำสั่ง View, Grids, Show Grids
         โดยปกติขนาดของช่องตารางจะมีค่าเท่ากับ 18 × 18 pixels ซึ่งปรับแต่งได้จากคำสั่ง View,
Grids, Edit Grid…
         Guide มีลักษณะเป็นเส้นตรงที่ผู้ใช้สามารถกำหนดตำแหน่ง เพื่อช่วยในการกะระยะต่างๆ
ช่วยในการวาดภาพ เคลื่อนย้ายตำแหน่งลักษณะเดียวกับกริด แต่มีความอิสระมากกว่า โดยการ
ทำงานจะต้องอยู่ในสภาวะการเปิดใช้งาน Ruler ก่อนเสมอ จากนั้นนำเมาส์ไปชี้ในแถบไม้บรรทัด
(ด้านใดก็ได้) กดปุ่มเมาส์ค้างไว้ เมื่อลากเมาส์จะปรากฏเส้นตรงสีเขียววาง ณ ตำแหน่งที่ปล่อยเมาส์
การปรับย้ายตำแหน่งเส้นไกด์ กระทำได้โดยคลิกเลือกเครื่องมือ Move แล้วนำเมาส์ไปชี้ที่เส้น
ไกด์ เพื่อปรับย้ายตำแหน่ง
         คำสั่งที่เกี่ยวข้องกับแถบไม้บรรทัด, Grids และไกด์ คือคำสั่ง Snap to… ซึ่งมีหลายคำสั่ง
เช่น
• Snap to Grids ช่วยให้การวาด/สร้างวัตถุ, การย่อขยาย หรือย้ายตำแหน่งอิง
  เส้นกริดที่กำหนดไว้
• Snap to Guides ช่วยให้การวาด/สร้างวัตถุ, การย่อขยาย หรือย้ายตำแหน่งอิงเส้น
  ไกด์ที่กำหนดไว้
• Snap to Objects ช่วยให้การวาด/สร้างวัตถุ, การย่อขยาย หรือย้ายตำแหน่งอิงจุด
  กึ่งกลาง (Center Point) ของวัตถุ

การใช้เครื่องมือของ Flash

          การสร้างภาพกราฟิกต่างๆ สามารถใช้เครื่องมือกราฟิกจากชุดเครื่องมือ Toolbox โดยมี
เครื่องมือหลายกลุ่ม และเปิด/ปิด Toolbox ได้จากเมนูคำสั่ง Window, Tools
เครื่องมือกลุ่มเลือกวัตถุ (Selection)
เครื่องมือกลุ่มวาดภาพ (Draw)
เครื่องมือกลุ่มจัดการปรับแต่งแก้ไข (Edit)
เครื่องมือกลุ่มแสดงผล (View)
เครื่องมือกลุ่มจัดการสี (Color)
เครื่องมือกลุ่มคำสั่งเสริม (Tools Modifier)
Tools Modifier
         Tools Modifier เป็นส่วนขยายคำสั่งของเครื่องมือปกติ โดยรายการในส่วนนี้จะปรับเปลี่ยน
ไปตามเครื่องมือที่เลือก ดังนั้นการเลือกเครื่องมือใดๆ ควรตรวจสอบคำสั่งย่อยของเครื่องมือนั้นๆ
จากส่วนควบคุมนี้ด้วยเสมอ

Tool modidier ของเครื่องมือ                                              Tool modidier ของเครื่องมือ
 


มุมมองจอภาพ

         Stage เป็นพื้นที่หลักของการสร้างงาน ดังนั้นเครื่องมือชุดแรกที่ควรทราบ ก็คือเครื่องมือใน
กลุ่ม View ซึ่งจะใช้ในการควบคุม Stage เป็นหลัก เช่น การย่อ/ขยาย Stage การเลื่อน Stage เป็นต้น
         Hand tool เป็นเครื่องมือที่ใช้เลื่อนและปรับขนาดของ Stage
                o Drag & Drop เพื่อเลื่อน Stage
                o ดับเบิลคลิกที่ กำหนดขนาดของ Stage ให้มีขนาดพอดีกับความกว้าง
                  ของจอภาพ (Fit on screen)
         Zoom tool เป็นเครื่องมือปรับขนาดของ Stage
                o คลิกที่ จะปรากฏรายการเลือกย่อยที่ Modifier คลิกเลือกรูปแบบการย่อ
                   หรือขยาย จากนั้นนำเมาส์มาคลิกบน Stage
                o ดับเบิลคลิกที่ เพื่อกำหนดให้ Stage มีขนาดเป็น 100% อย่างรวดเร็ว
         การควบคุม Stage ยังสามารถใช้ปุ่ม Zoom ที่ปรากฏอยู่มุมบนขวาของ Stage
หรือเลือกจากเมนูคำสั่ง View, Zoom in/Zoom out/Magnifier ได้เช่นเดียวกัน
ทำงานกับสี (Color)
         วัตถุใน Flash จะประกอบด้วยส่วนประกอบอย่างน้อยๆ 2 ส่วน ได้แก่ พื้นของวัตถุ
(Background หรือ Fill) และเส้นขอบวัตถุ (Stroke) แต่ละส่วนสามารถแสดงผลด้วยสีที่แตกต่างกัน
ได้ เช่น รูปสี่เหลี่ยมที่มีเส้นขอบสีดำ และพื้นข้างในเป็นสีน้ำเงิน ดังนั้นการทำงานเกี่ยวกับสี จึงเป็น
การทำงานที่จะต้องเกี่ยวข้องตลอดเวลา โดยอาศัยชุดเครื่องมือเลือกสี จาก Toolbox
Stroke Color
Fill Color
         รายละเอียดเกี่ยวกับส่วนควบคุมสีใน Toolbox
Default Color
คืนค่าสีสู่ค่าเดิม คือดำ, ขาว


Stroke Color สีเส้น
Fill Color สีพื้นของวัตถุ, สี
Swap Color การสลับสี
         รายการเลือก No Color จะแสดงผลเมื่อคลิกเลือกวาดสี่เหลี่ยม หรือวาดวงกลม ดังนั้น
ก่อนเลือกสีให้กับการวาดสี่เหลี่ยม, วงกลม ควรคลิกเลือกเครื่องมือวาดสี่เหลี่ยม หรือวาดวงกลม
ก่อนที่จะคลิกปุ่มเลือกสี ซึ่ฝ เป็นรายการสำคัญมาก และมักจะเป็นรายการที่เข้าใจผิด เช่น ถ้า
ต้องการวาดวงกลมไม่มีสีพื้น หลายๆ ท่าน จะใช้วิธีการเลือก Fill Color ให้กับสีของ Background
เช่น ถ้า Background เป็นสีขาว ก็จะเลือก Fill Color เป็นสีขาว ซึ่งมีความหมายที่ต่างไป